วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method)


                   นางประภัสรา  โคตะขุน ( https://sites.google.com/site/prapasara/15-1) ได้รวบรวมรูปแบบการสอนแบบต่างๆ และได้กล่าวถึงรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method) ไว้ดังนี้
                  แนวคิด
                  เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
                  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถามมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
                  1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อ
วัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
                  2. ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดย
การสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
                  3. ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้น ๆ
                  4. ขั้นสรุปและประเมินผล
                      4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
                      4.2 การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
                 ประโยชน์
                 1. ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
                 2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 3. สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
                 4. ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
                 5. ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และ
วินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
                 6. ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต

                วันดี โตสุขศรี  และ ธนิษฐา  สมัย  ผู้ลิขิต (http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/MN/th/km_clinical.html)ได้กล่าวถึงรูปแบบของการสอนโดยการใช้คำถามในการสอน (Clinical Teaching: Questioning) ไว้ดังนี้
                การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ  เป็นกลวิธีการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด  การตีความ  การไตร่ตรอง  การถ่ายทอดความคิด  สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี การถามจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  ที่ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้  ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ โดยกระบวนการถามจะช่วยขยายทักษะการคิด  ทำความเข้าใจให้กระจ่าง ได้ข้อมูลป้อนกลับทั้งด้านการเรียนการสอน ก่อให้เกิดการทบทวน การเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่างๆ ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความท้าทาย โดยบทบาทผู้เรียน จะเรียนรู้จากคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง
                แนวคิดของการใช้คำถามในการสอน
                การถามคือ การบูรณาการเพื่อพัฒนาไปสู่การคิดไตร่ตรอง (Reflective Thinking) และโครงสร้างกระบวนการคิด ช่วยให้ผู้เรียนได้ไตร่ตรองความเข้าใจของตน และสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการเรียนรู้ การคิด และการสอน
                เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
ขั้นตอนสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถาม มีดังนี้
                1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
                2. ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
                3. ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้นๆ
                 4. ขั้นสรุปและประเมินผล
                     4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
                     4.2 การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผล การเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
                แนวคิดการตั้งคำถามจากนพ.สุพจน์
                
นักศึกษาชอบการสอนแบบใช้การถามกลุ่ม ให้ช่วยกันคิดหาคำตอบ  ฝึกการคิดประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อให้ได้คำตอบ เมื่อนักศึกษาตอบถูก ขอให้ชม เมื่อนักศึกษาตอบไม่ได้ ไม่ควรให้การบ้าน เพราะนักศึกษาไม่ชอบการบ้าน นักศึกษารู้สึกเหมือนถูกทำโทษ
                ตัวอย่าง  ทำไมคนนี้เป็น pneumonia
                คำถามในชั้นปีสูงๆ ไม่เหมือนคำถามชั้นปีต้นๆ เพราะเป็นคำถามที่ต้องคิดประยุกต์ความรู้มาสร้างคำตอบ  จึงควรใช้คำถามเรื่องที่สำคัญๆ ชวนให้คิด เรื่องความจำเล็กๆ น้อยๆ ไม่สำคัญมาก อาจารย์บอกได้ ก็ควรบอก
                ตัวอย่าง เชื้อโรคอะไร ทำให้เป็น pneumonia
                คำถามไม่เคลียร์ --- case นี้ ยังไงดี ยังไงต่อ
                แก้ไข......นักศึกษาเข้าใจคำถามหรือไม่
                คำถามเป็นชุด
   คนนี้ตกลงว่าเป็นอะไร การรักษาเป็นอย่างไร การพยาบาลอย่างไร
                แก้ไข......ขอให้ตั้งที่ละคำถาม

               ให้เวลานักศึกษาในการคิดคำตอบ อย่างน้อย 10 วินาที เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาส
ทำความเข้าใจว่าอาจารย์ถามอะไร คาดหวังว่าอาจารย์ต้องการคำตอบอะไร คิดจริงจังว่าคำตอบคืออะไร  (คำถามทางคลินิกไม่ได้มีคำตอบเดียว) จะตอบอย่างไรดี (ที่ตอบแล้วจะไม่บาดเจ็บ นักศึกษาไม่ตอบคำถาม คำถามไม่เคลียร์  กลัว (จากบรรยากาศที่น่ากลัว ประสบการณ์เดิมที่ไม่ดี ความเจ็บปวดในอดีต) นักศึกษาตอบคำถาม ชม เมื่อตอบถูก
                เทคนิคการสอนแบบใช้คำถาม
                1.ทำบรรยากาศให้ดี  เป็นมิตร ปลอดภัย ระวังบรรยากาศคุกคาม   ถูกอัด ถูกซอย กินตับ กินหัว ไม่ควรใช้ เป็น Painful learning, ควรใช้ meaningful learning  เริ่มต้นการสอน บอกวิธีการสอน อาจารย์จะใช้การสอนแบบใช้คำถามเพื่อให้ตอบ  ให้เกียรติผู้เรียน เรียกชื่อนักศึกษา ใช้  ASA (attentive, smile, acknowledge) = มองหน้าตั้งใจฟัง ยิ้มน้อยๆ ชมเมื่อตอบถูก (เก่งมากค่ะ  ดีมากค่ะ เห็นด้วยค่ะ)  เมื่อตอบผิด  ทำไมคิดอย่างนั้น  แก้ concept ที่ถูกต้อง ให้ความเข้าใจว่า คำตอบทางคลินิก ไม่เคยมีคำตอบเดียว อาจมีมากกว่า ให้คิดว่า ตอบผิด ดีกว่า ไม่ตอบ
                2.เลือกคำถามที่ดี    ที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ เลือกคำถามปลายเปิด  ทำไม อย่างไร เพราะเหตุใด ให้นักศึกษาคิดคำตอบเอง  แนะแนวการคิด guide โดยใช้คำถามที่นักศึกษาจะต้องนำความรู้พื้นฐาน (Basic Knowledge) มาประยุกต์
                3.ใช้เทคนิคให้ดี ถามชัดเจน ไม่กำกวม เลือกคำถามกว้างๆ ปลายเปิด ทำอย่างไร  ถามทีละ 1 คำถาม อย่าถามเป็นชุดให้เวลาคิด 10 วินาที  เทคนิค Pose – Pause – Pounce  ตั้งคำถาม รอคำตอบ ถ้าไม่ตอบ ถามระบุคน
                คำถามที่ควรหลีกเลี่ยง
                คำถาม ใช่ ไม่ใช่
                คำถามกำกวม
                คำถามชักกะเย่อ
                คำถามให้เดา
                คำถามชี้นำ
                วิธีการตั้งคำถามแบบโซเครดิต(Socratic Method) 
                เป็นวิธีสอนของนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อโซเครติส วิธีสอนแบบนี้ใช้การตั้งคำถามให้นักเรียนคิดหาคำตอบหรือตอบปัญหาด้วยตนเอง โดยครูจะกระตุ้นให้นักเรียนนึกถึงเรื่องต่างๆ ที่เคยเรียนแล้ว
                คำถามของครูจะเป็นแนวทางให้นักเรียนคิดค้นหาความรู้ นักเรียนจะเรียนด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง และเป็นการเสริมสร้างสติปัญญาให้ทุกคนรู้จักแสดงความคิดเห็น อภิปรายแล้วสรุปความคิดเห็นลงในแนวเดียวกัน วิธีสอนแบบนี้เหมาะสำหรับนักเรียนที่ชอบใช้ความคิดค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งต่างๆ
Socratic questioning มี 6 แบบ
               1. Tell me more: ขอความกระจ่าง
               2. Probe assumption: ขอข้อสรุป
               3. Reason ขอเหตุผล
               4. View point & Perspectives  ถามมุมมองแง่อื่นและแนวคิด
               5. Implication & Consequence การนำไปใช้และคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น
               ข้อคิด
               1. คำถาม  สำหรับนักศึกษาเก่ง  ไม่เก่ง
               2. การตั้งคำถาม  เมื่อมีนักศึกษาอยู่ด้วยกันหลายชั้นปี
               3. การตั้งคำถาม เมื่อสอนที่ข้างเตียงผู้ป่วย
               เทคนิคการสอนแบบใช้คำถาม 3 อย่าง
               1. ทำบรรยากาศให้ดี  เป็นมิตร ปลอดภัย  ASA (attentive, smile, acknowledge)
               2. เลือกคำถามที่ดี WHY,  HOW ใช้คำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาคิดคำตอบเอง guide ให้ใช้ Basic Knowledge
               3.ใช้เทคนิคดี  Pose – Pause – Pounce
วิธีการตั้งคำถามแบบโซเครติค
               การตั้งคำถามระดับสูงจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดระดับสูง  และเป็นคนมีเหตุผล  ผู้เรียนไม่เพียงแต่จดจำความรู้  ข้อเท็จจริงได้อย่างเดียวแต่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา  วิเคราะห์ และประเมินสิ่งที่ถามได้  นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสาระสำคัญของเรื่องราวที่เรียนได้อย่างถูกต้องและกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลมาตอบคำถามด้วยตนเอง
               การตอบคำถามระดับสูง  ผู้สอนต้องให้เวลาผู้เรียนในการคิดหาคำตอบเป็นเวลามากกว่าการตอบคำถามระดับพื้นฐาน  เพราะผู้เรียนต้องใช้เวลาในการคิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งและมีวิจารณญาณในการตอบคำถาม  ความผิดพลาดอย่างหนึ่งของการตั้งคำถามคือ  การถามแล้วต้องการคำตอบในทันทีโดยไม่ให้เวลาผู้เรียนในการคิดหาคำตอบ
               1). “การตั้งคำถามในการสอน (Questioning in Teaching) ควรจะใช้เมื่อไหร่”  ใช้เฉพาะเวลา discussion ปัญหาที่เตียงผู้ป่วย, bedside teaching, มีการนำผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในการถามคำถามและตอบคำถามด้วยระหว่างจัดการเรียนการสอน
               2.)  “ มีอาจารย์ท่านใดใช้คำถามในการสอน (Questioning in Teaching) แบบนี้ในการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติบ้างหรือไม่ ”  มีอาจารย์ 3 ท่าน ที่ใช้คำถามในการสอน (Questioning in Teaching) แบบนี้ในการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ  คือ  รศ.ปราณี ทู้ไพเราะ, อ.ดร.ศรินรัตน์  ศรีประสงค์ และผศ.ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล  ได้มีการนำไปใช้ในการเรียนการสอนจริง  แต่ใช้ไม่เต็มรูปแบบ  มีการตั้งคำถามในการเรียนการสอน ถ้าพบว่าถามคำถามแล้วนักศึกษากลุ่มใหญ่ไม่ตอบคำถาม  อาจารย์จะถามเป็นรายบุคคลแทน  หรือให้พี่ปี 4 เป็นผู้ตอบคำถามแทนน้องปี 3 แต่ถ้าอาจารย์ถามคำถามแล้วนักศึกษาตอบไม่ได้ทั้งนักศึกษาปีที่ 4 และปีที่ 3               
              3.) อาจารย์จะเป็นผู้ตอบและเฉลยให้กับนักศึกษา
              4.) “ ระยะเวลาที่ใช้ในการให้เวลานักศึกษาในการคิดคำตอบ อย่างน้อย 10 วินาที หรือไม่ ”
อาจารย์ทั้ง 3 ท่าน คือ รศ.ปราณี ทู้ไพเราะ, อ.ดร.ศรินรัตน์  ศรีประสงค์ และผศ.ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล แจ้งว่า ไม่ได้ใช้ เนื่องจากถ้านักศึกษาตอบคำถามไม่ได้ ก็จะให้เพื่อนคนอื่นตอบแทนไปเรื่อยๆ อาจารย์ไม่ได้รอให้นักศึกษาใช้เวลาในการคิดคำตอบ อย่างน้อย 10 วินาที
              5.) “ถ้านักศึกษาตอบคำถามในการเรียนการสอน (Questioning in Teaching) ไม่ได้  อาจารย์ทำอย่างไรบ้าง”  เรียกให้นักศึกษาคนอื่นตอบแทน หรือให้นักศึกษาคนอื่นช่วยกันตอบ  ถ้าทั้งกลุ่มตอบไม่ได้จริงๆ  อาจารย์จะเป็นผู้ตอบและเฉลยให้กับนักศึกษา
              6.) “ ถ้านักศึกษาที่เก่งแย่งตอบคำถามหมด  และนักศึกษาที่อ่อนไม่ตอบคำถามเลย  อาจารย์จะทำอย่างไร ”  จะถามนักศึกษาที่อ่อนก่อน โดยใช้คำถามง่ายๆ และถ้านักศึกษาตอบผิดหรือตอบไม่ได้  จะไม่มีการดุหรือตำหนินักศึกษา  และอาจารย์จะใช้คำถามที่ยากขึ้นในนักศึกษาที่มีความรู้ระดับกลางๆ และนักศึกษาที่มีความรู้ระดับสูงหรือเก่ง

           อัสมา บิลมะหมูด ( https://www.l3nr.org/posts/545216) ได้สรุปรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการใช้คำถาม (Questioning Method)ไว้ดังนี้
           ความสำคัญ
           การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถาม เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาการคิดของผู้เรียนให้มีความสามารถด้านทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ จุดเน้นคือการกระตุ้นผู้เรียนให้สามารถคิดและตั้งคำถามกระตุ้นให้เกิดความสนใจใฝ่รู้ และคิดหาคำตอบที่ถูกต้อง คำถามมีส่วนสำคัญที่จะจุดประกายให้ผู้เรียนฉุกคิด เกิดข้อสงสัย ใคร่รู้เพื่อแสวงหาคำตอบ และความรู้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การใช้คำถามจึงเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเป็น คิดได้
            แนวคิด
            เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
            ขั้นตอนสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถาม มีดังนี้
            1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม
            
                ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
            2. ขั้นเตรียมคำถาม 
                ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
            3. ขั้นการใช้คำถาม 
                ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้นๆ
            4. ขั้นสรุปและประเมินผล
                การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
                การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผล การเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
            เทคนิคการสอนแบบใช้คำถาม
               1. ทำบรรยากาศให้ดี เป็นมิตร ปลอดภัย
               2. เลือกคำถามที่ดี       ที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เลือกคำถามปลายเปิด ทำไม อย่างไร เพราะเหตุใด ให้นักศึกษาคิดคำตอบเอง
               3. ใช้เทคนิคให้ดี   ถามชัดเจน ไม่กำกวม ถามทีละ 1 คำถาม อย่าถามเป็นชุด ให้เวลาคิด
             ประโยชน์
               1. ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
               2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               3. สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
               4. ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
               5. ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และวินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้


สรุป
                ความสำคัญ
                การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถาม เป็นเทคนิคสำคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มาทประสิทธิภาพ  ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาการคิดของผู้เรียนให้มีความสามารถด้านทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นกลวิธีการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด  การตีความ  การไตร่ตรอง  การถ่ายทอดความคิด  สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี จุดเน้นคือการกระตุ้นผู้เรียนให้สามารถคิดและตั้งคำถามกระตุ้นให้เกิดความสนใจใฝ่รู้ และคิดหาคำตอบที่ถูกต้อง คำถามมีส่วนสำคัญที่จะจุดประกายให้ผู้เรียนฉุกคิด เกิดข้อสงสัย ใคร่รู้เพื่อแสวงหาคำตอบ และความรู้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การใช้คำถามจึงเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเป็น คิดได้
                  แนวคิดของการใช้คำถามในการสอน
                  การถามคือ การบูรณาการเพื่อพัฒนาไปสู่การคิดไตร่ตรอง (Reflective Thinking) และโครงสร้างกระบวนการคิด ช่วยให้ผู้เรียนได้ไตร่ตรองความเข้าใจของตน และสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการเรียนรู้ การคิด และการสอน
                 
การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถาม เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
                  ขั้นตอนสำคัญ  ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถาม มีดังนี้
                  1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
                  
2. ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
                  3. ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้นๆ
                   4.ขั้นสรุปและประเมินผล
                       4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
                       4.2 การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผล การเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
                    เทคนิคการสอนแบบใช้คำถาม 3 อย่าง
                    1.ทำบรรยากาศให้ดี  เป็นมิตร ปลอดภัย   ASA (attentive, smile, acknowledge)
                    2.เลือกคำถามที่ดี WHY,  HOW ใช้คำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาคิดคำตอบเอง guide ให้ใช้ Basic Knowledge
                 
   3.ใช้เทคนิคดี  Pose – Pause – Pounce
                    วิธีการตั้งคำถามแบบโซเครติค
                    การตั้งคำถามระดับสูงจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดระดับสูง  และเป็นคนมีเหตุผล ผู้เรียนไม่เพียงแต่จดจำความรู้ ข้อเท็จจริงได้อย่างเดียวแต่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา  วิเคราะห์ และประเมินสิ่งที่ถามได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสาระสำคัญของเรื่องราวที่เรียนได้อย่างถูกต้องและกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลมาตอบคำถามด้วยตนเอง
                     การตอบคำถามระดับสูง ผู้สอนต้องให้เวลาผู้เรียนในการคิดหาคำตอบเป็นเวลามากกว่าการตอบคำถามระดับพื้นฐาน เพราะผู้เรียนต้องใช้เวลาในการคิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งและมีวิจารณญาณในการตอบคำถาม  ความผิดพลาดอย่างหนึ่งของการตั้งคำถามคือ  การถามแล้วต้องการคำตอบในทันทีโดยไม่ให้เวลาผู้เรียนในการคิดหาคำตอบ
                    ประโยชน์ของจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม
                     1.  ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
                     2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                     3.  สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
                     4.  ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
                     5.  ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน  และวินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
                     6.  ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต

ที่มา :
นางประภัสรา  โคตะขุน.[online] https://sites.google.com/site/prapasara/15-1. รูปแบบการสอน   
                  แบบต่างๆ
.สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2558.
วันดี โตสุขศรี,ธนิษฐา  สมัย.[online] http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/MN/th/km_clinical.html.การจัดการ

                  ความรู้ .สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2558.
อัสมา บิลมะหมูด.[online] https://www.l3nr.org/posts/545216. การออกแบบการสอน (การใช้
                 คำถาม).สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2558.

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้


                อัชรา เอิบสุขสิริ (2556:106) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า "การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงองค์ประกอบ 4 อย่าง ได้แก่
                1.ลักษณะของผู้เรียนอันประกอบด้วยลักษณะทางกายภาพ จิตใจ สติปัญญา จริยธรรมค่านิยม แรงจูงใจ พฤติกรรมส่วนตัว พฤติกรรมกลุ่ม ความต้องการพิเศษ เพศ และวัฒนธรรมที่ติดตัวมา
                2.ลักษณะของผู้สอนอันประกอบด้วยเจตคติต่อการเรียนรู้ เจตคติต่อผู้เรียน เจตคติต่อตนเอง และความเข้าใจในงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                3.กลยุทธ์ในการสอนอันประกอบด้วยการนำทฤษฎีการเรียนรู้มาปฏิบัติจริง วิธีสอนและต้นแบบ วิธีสอนเฉพาะรายบุคคล แผนการสอน เทคนิคที่หลากหลาย วินัยของผู้เรียน การใช้แบบทดสอบ
               4.เนื้อหาวิชาอันประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญ แนวคิดพื้นฐานของเนื้อหาที่จะสอน ลำดับของเนื้อหา การเลือกเนื้อหาในการสอน ระดับความสำคัญของเนื้อหาในแต่ละส่วน ฯลฯ "

               อารี พันธ์มณี (2534:88-89)ได้รวบรวมองค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ของ ดอลลาร์ด,มิลเลอร์ และชูชีพ  อ่อนโคกสูง ไว้ดังนี้
              ดอลลาร์ด  และมิลเลอร์ (Dollard and Miller) กล่าวว่า การเรียนรู้ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้   (อ้างจาก อเนกกุล  กรีแสง 2522)
              1.แรงขับ (Drive) เกิดขึ้นเมื่ออินทรีย์ (Organism) ขาดสมดุลเช่น ขาดอาหาร ขาดน้ำ ขาดการพักผ่อน ฯลฯ ภาวะเหล่านี้จะกระตุ้นให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมเพื่อปรับให้อินทรีย์อยู่ในสภาพสมดุลอย่างเดิม แรงขับมีอยู่ 2 ประเภท คือ
                          1.1  แรงขับพื้นฐาน เกิดเนื่องจากความต้องการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตเป้นความต้องการทางร่างกายต่างๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมๆ กับการมีชีวิตของคุณ
                          1.2 แรงขับที่เกิดจากการเรียนรู้ เกิดขึ้นภายหลังเป็นความต้องการทางสังคม เช่น  ความรัก ฐานะทางสังคม   ความมั่นคงปลอดภัย

              2.สิ่งเร้า เป็นสิ่งที่จะกระตุ้นให้อินทรีย์แสดงกิจกรรมโต้ตอบออกมา เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของร่างกาย
              3.การตอบสนอง เป็นพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่อินทรีย์แสดงออกเมื่อมีสิ่งเร้าไปเร้า
              4.การเสริมแรง   เป็นการทำให้สิ่งเร้าและการตอบสนองมีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น เช่น เมื่อนักเรียนทำเลขถูกก็เสริมแรงโดยให้รางวัล การเสริมแรงนี้จะทำให้นักเรียนอยากเรียน(ทำเลข)ในคราวต่อไป
          
              ชูชีพ  อ่อนโคกสูง  (ชูชีพ อ่อนโคกสูง, 2518) กล่าวว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ จะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานอย่างน้อยที่สุด  4 ประการด้วยกัน  ดังนี้
              1. แรงจูงใจ (Motive) ในขณะที่มีชีวิตอยู่ ร่างกายย่อมมีความต้องการต่างๆ เมื่อใดที่ร่างกายเกิดความต้องการหรือเกิดความไม่สมดุลขึ้น  จะมีแรงขับ (Drive) หรือแรงจูงใจ (Motive) เกิดขึ้นภายในอินทรีย์ผลักดันให้สิ่งที่หายไปนั้นมาให้ร่างกายอยู่ในภาวะพอดี  แรงจูงใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้เพราะเป็นตัวจักรสำคัญหรือเป็นต้นตอที่แท้จริงของพฤติกรรม
              
2. สิ่งจูงใจ (Incentive) สิ่งจูงใจเป็นสิ่งที่จะลดความเครียด  และนำไปสู่ความพอใจ  นักจิตวิทยาเชื่อว่า  สิ่งจูงใจจะเป็นศูนย์กลางหรือหัวใจของการเรียนรู้ เขาถือว่าแรงจูงใจซึ่งถือว่าเป็นภาวะภายในของอินทรีย์และกิจกรรมต่างๆล้วนเกิดขึ้นจากสิ่งจูงใจทั้งสิ้น
             
3.อุปสรรค (A Barrier or Block)นับเป็นพื้นฐานที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการเรียนรู้  เพราะอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางอย่อมทำให้เกิดปัญหา  การที่ผู้เรียนเกิดปัญหาจะทำให้ผู้เรียนพยายามทำซ้ำๆ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เพื่อจะฟันฝ่าอุปสรรคนั้นไปสู่เป้าหมายให้ได้
             
4. กิจกรรม (Activity) กิจกรรมหรือการตอบสนองของอินทรีย์เราทราบว่าใครเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใด ช้าหรือเร็วอย่างไร และเป็นสิ่งที่ใช้อ้างอิง(Infer)ไปถึงความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจที่ซ่อนเร้นอยู่  เราจะสังเกตเห็นว่าคนเรามักจะชอบประกอบกิจกรรมที่นำความสำเร็จ  หรือความพอใจมาให้ซ้ำๆอยู่เสมอ  แม้ว่าจะไม่เจอปัญหาใหม่ๆ ส่วนกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ไม่เคยนำความสำเร็จมาให้นั้นมักจะหลีกเลี่ยง

             
              Pichaikum (http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.htmlได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ไว้ดังนี้
              1. ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น
ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
               2. ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
               3. เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
               4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
               5. สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดี และจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย

สรุป                               
              จากการที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ ทำให้สามารถสรุปได้ว่าองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ จะประกอบไปด้วย
               1. ผู้สอน มีลักษณะเป็นผู้ที่มีเจตคติต่อการเรียนรู้ เจตคติต่อผู้เรียน และเจตคติต่อตนเองที่ดี จะเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยจะต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิค วิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหา ผู้สอนควรจะมีการเสริมแรงเพื่อเป็นการทำให้ผู้เรียนเกิดการอยากเรียน อีกทั้งผู้สอนควรจะดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้               
               2.
 ผู้เรียน มีลักษณะอันประกอบด้วยลักษณะทางกายภาพ จิตใจ สติปัญญา บุคลิกภาพ ความถนัด ความสนใจ จริยธรรมค่านิยม แรงจูงใจ พฤติกรรมส่วนตัว พฤติกรรมกลุ่ม ความต้องการพิเศษ เพศ และวัฒนธรรมที่ติดตัวมาที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งผู้เรียนถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
                3. บทเรียนหรือเนื้อหาวิชาต่างๆ จะมีลักษณะอันประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญ แนวคิดพื้นฐานของเนื้อหาที่จะสอน ลำดับของเนื้อหา การเลือกเนื้อหาในการสอน ระดับความสำคัญของเนื้อหาในแต่ละส่วน ฯลฯ ซึ่งผู้สอนจะต้องหาสิ่งจูงใจใส่ในเนื้อหา และควรจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
                 4.
 สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้อีกประการหนึ่ง ซึ่งสื่อควรจะทำให้มีสิ่งจูงใจ เพื่อทำให้เกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ดังนั้นสื่อถือเป็นสิ่งเร้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                 5.
 สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องกลยุทธ์ในการสอนอันประกอบด้วยการนำทฤษฎีการเรียนรู้มาปฏิบัติจริง วิธีสอนและต้นแบบ วิธีสอนเฉพาะรายบุคคล แผนการสอน เทคนิคที่หลากหลาย วินัยของผู้เรียน การใช้แบบทดสอบ อีกทั้งบรรยากาศการเรียนรู้ต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดี และจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
ที่มา:

                 อัชรา เอิบสุขสิริ.(2556).จิตวิทยาสำหรับครู.กรุงเทพ:บริษัท วี.พริ้น (1991) จำกัด.
                 อารี พันธ์มณี.(2534).จิตวิทยาการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:บริษัท เลิฟแอนด์ลิฟเพลส จำกัด.
                 
Pichaikum.[online] http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html.องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้. สืบค้น                                  เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558.