วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

การประเมินผลการเรียนรู้

           http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-2.html ได้รวบรวมบทบาทของการวัดและประเมินผลการศึกษาไว้ว่า เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนแล้วจะพบว่าการวัดและประเมินผลเข้าไปมีบทบาทแทรกอยู่ในกระบวนการเรียนการสอน 3 ช่วง  คือ
           ช่วงที่ 1 วัดผลและประเมินผลก่อนการเรียนการสอน
           มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะตรวจสอบพฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียนว่ามีความพร้อม  และมีความสามารถพอที่จะเรียนรู้ในเรื่องที่จะสอนต่อไปมากน้อยเพียงใด  ควรที่จะเพิ่มเติมความรู้หรือทักษะพื้นฐานในเรื่องใดก่อนหรือไม่  หรืออาจจะใช้ผลจากการวัดนี้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อจะได้เลือกใช้วิธีสอน  กิจกรรม  และอุปกรณ์ให้เหมาะสม  ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
           ช่วงที่ 2 วัดผลและประเมินผลในขณะทำการเรียนการสอน
           มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  นั่นคือในขณะที่ครูกำลังดำเนินการสอนในแต่ละขั้นตอนตามลำดับนั้น  ครูจำเป็นต้องมีการทดสอบย่อยควบคู่ไปด้วยตลอดเวลา  อย่างที่เรียกว่า “สอนไป สอบไปทั้งนี้ก็เพื่อจะดูว่าในแต่ละเนื้อหาย่อยที่ครูกำลังดำเนินการสอนอยู่นั้น  นักเรียนประสบความสำเร็จเพียงใดจะสอนในหน่วยต่อไปได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องสอนซ่อมเสริมหน่วยย่อยเดิมเสียก่อนการสอบวัดในช่วงนี้จัดเป็นการสอบวัดที่เรียกว่าการประเมินผลย่อย(Formative  Evaluation)
            ช่วงที่ 3 วัดผลและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน
            มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบโดยสรุปของผลการเรียนการสอนทั้งหมดว่าเมื่อครบตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้วนักเรียนมีความสำเร็จในการเรียนรู้ทั้งสิ้นอย่างไร  ลักษณะของการประเมินผลจึงเป็น การประเมินผลรวม  (Summative Evaluation) กล่าวคือจะเป็นการสอบวัดในลักษณะสรุปรวมทุกหน่วยการเรียนที่เรียนไปแล้วเพื่อตัดสินได้ – ตกในวิชานั้น
            วรรณ์ดี แสงประทีปทอง (http://www.human.ku.ac.th/newdesign/files/ku_human_57.pdfได้กล่าวเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า การวัดเป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนคุณภาพหรือคุณลักษณะอย่างมีกฎเกณฑ์ และการประเมินเป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้จากการวัด
            จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียน
               1. วัดและประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
               2. การวัดและประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน
            ประเภทของการวัดและประเมินผล
               1. การวัดและประเมินผลก่อนเรียน
               2. การวัดและประเมินผลระหว่างเรียน
               3. การวัดและประเมินผลหลังเรียน
            ลักษณะของการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
               1. เป็นการวัดทางอ้อม
               2. เป็นการวัดตัวแทนของความรู้
               3. เป็นการวัดที่อาจเกิดความคลาดเคลื่อน
            แนวคิดของการวัดและประเมินผลการศึกษา
            อิงกลุ่ม
               1. เทียบความสามารถของผู้สอบกับคนอื่นๆในกลุ่ม
               2. เหมาะกับการสอบคัดเลือก
            อิงเกณฑ์
               1. ผู้เรียนสามารถทำอะไรได้หลังจากที่มีการเรียนการสอนไปแล้ว
               2. เหมาะกับการเรียนการสอนการวินิจฉัย
            http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?id=88814 ได้รวบรวมและกล่าวเกี่ยวกับบทบาทของครูและผู้เรียนในการประเมินผลการเรียนรู้ว่า หลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ (Content Standards) เป็นเป้าหมาย เกณฑ์ในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียนที่ครอบคลุมความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้จึงเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล การวัดและประเมินผลถือเป็นจุดสำคัญขั้นตอนหนึ่งที่จะบ่งชี้ได้ว่าผู้เรียนบรรลุถึงมาตรฐานการเรียนรู้หรือไม่เพียงใด ครูผู้สอนและผู้เรียนจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการที่จะร่วมกันวางแผนการประเมินและดำเนินการวัดและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
            การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้
            สิ่งที่ต้องการสำหรับครูผู้สอนก็คือทำอย่างไรจึงจะประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่เนื้อหาสาระที่เป็นองค์ความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ครูผู้สอนจึงต้องทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้เสียก่อนให้ชัดเจน ก่อนที่จะดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
            1.ทำอย่างไรให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะตามตัวชี้วัดที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนด โดยผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด
            2.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกนำไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในการพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดนั้น
           3.มีการกำหนดเป้าหมายการประเมิน คือ สิ่งที่ต้องการวัด วิธีการประเมินเครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินในการวางแผนการประเมินอย่างไรบ้าง
           4.ดำเนินการประเมินตามวิธีการและเครื่องมือที่กำหนด เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด
           5.ประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนตลอดเวลา
           เป้าหมายแห่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
           1. องค์ความรู้ (ความรู้เนื้อหา) / สารสนเทศ (Knowledge / Information)
           2.ทักษะ / กระบวนการ (Skills / Process)
           3.การคิดและการใฝ่เหตุผล (Thinking and Reasoning) เช่น การเปรียบเทียบ วิเคราะห์ จัดจำพวก อ้างเหตุผลพิสูจน์ ข้อสรุป ตัดสินใจ
          4.การสื่อสาร (Communication) เช่น พูดปากเปล่า สื่อสารกับบุคคล                                           อธิบายแนวคิด   
          กุญแจสำคัญที่นำไปสู่การสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ(Understanding)
          1.แบบอย่าง (Patterns)
          2.การเชื่อมต่อระหว่างกัน (Interconnection) ภาพองค์รวม (the whole)
          3.โลกแห่งความเป็นจริง (Authenticity)
          4.ประสบการณ์ (Experience)
          5.ความเข้าใจในสถานการณ์สำคัญ (The Big picture)
          6.ความเข้าใจ (Understanding) การรู้ (Knowing)

 สรุป
          จากการศึกษาการประเมินผลการเรียนรู้สามารถสรุปได้ว่า การวัดเป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนคุณภาพ ส่วนการประเมินเป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้จากการวัด โดยจุดมีมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียน เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และเพื่อตัดสินผลการเรียน จะประกอบด้วย 3 ประเภทได้แก่ การวัดและประเมินผลก่อนเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะตรวจสอบพฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียน การวัดและประเมินผลระหว่างเรียนจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  การวัดและประเมินผลหลังเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบโดยสรุปของผลการเรียนการสอนทั้งหมด การประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ สิ่งที่ต้องการสำหรับครูผู้สอนก็คือทำอย่างไรจึงจะประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่เนื้อหาสาระที่เป็นองค์ความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด  โดยมีกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้แก่ แบบอย่าง (Patterns) การเชื่อมต่อระหว่างกัน (Interconnection) ภาพองค์รวม (the whole) โลกแห่งความเป็นจริง (Authenticity) ประสบการณ์ (Experience) ความเข้าใจในสถานการณ์สำคัญ (The Big picture) และความเข้าใจ (Understanding) การรู้ (Knowing)

ที่มา:
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง.[online] http://www.human.ku.ac.th/newdesign/files/ku_human_57.pdf.การ
           ประเมินผลการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2558.
 http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-2.html .บทบาทของการ 
           วัดและประเมินผลการศึกษา.สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2558.
http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?id=88814. บทบาทของครูและผู้เรียน
            ในการประเมินผลการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2558. 

         


การเรียนรู้แบบเรียนรวม

                  https://www.gotoknow.org/posts/548117 ได้ให้ความหมายและกล่าวถึงการจักการศึกษาแบบเรียนรวมไว้ดังนี้ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยกว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
                 ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
                 ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้         
                         •
 เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
                         • เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
                         • โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
                         • โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
                         • โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
                 ศึกษาแบบเรียนรวมมีรูปแบบดังนี้
                 การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ การศึกษาแบบเรียนรวมจะมีบรรยากาศที่เป็นจริงตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนในโรงเรียนจะมีความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิความเสมอภาคในด้านการศึกษา มีความแตกต่างกันตามศักยภาพในการเรียนรู้ มีความร่วมมือช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ ฝึกทักษะความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข มีความยืดหยุ่นและปฏิบัติตนตามสภาพจริงได้อย่างเหมาะสม
                ศึกษาแบบเรียนรวมมีหลักการดังนี้
                การศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการว่า เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะเรียนรวมกันโดยโรงเรียนและครูจะต้องปรับสภาพแวดล้อม หลักสูตรวัตถุประสงค์ เทคนิคการสอน สื่ออุปกรณ์ การประเมินผลเพื่อให้ครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กทุกคนเป็นรายบุคคลได้
                หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
                แผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ
                   1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง
                   2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา ได้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัวทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน
                  3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ เด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมได้รับผลกระทบต่อการเรียนรู้ในด้าน ต่าง ๆ และหากเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ ซ้อนจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งแยกพิจารณาถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการแต่ละประเภท ดังนี้
                  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
                  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จะพบว่าสติปัญญาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และเด่นชัดที่สุดในเรื่องของการเรียนรู้ การพัฒนาการในด้านการเคลื่อนไหวด้านภาษา ด้านความคิดรวบยอด ด้านอารมณ์ และด้านสังคม ของเด็กจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ได้เพราะเด็กมีสติปัญญาเป็นปกติ แต่หากมีความบกพร่องทางสติปัญญาแล้วพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กจะล่าช้าไป หรือไม่เป็นไปตามวัยที่ควรจะเป็น
                 เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
                 เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จะพบว่าการสูญเสียการได้ยิน และปัญหาทางการเรียนรู้มักเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน เพราะเป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับภาษา คนเราเรียนรู้ภาษาและการพูดโดยการรับรู้จากการได้ยิน ซึ่งการเรียนรู้ภาษาและการพูดจะช่วยให้คนเราสามารถเรียนรู้สิ่งอื่น ๆ ได้เพิ่มมากขึ้นและกว้างขวางขึ้น ดังนั้นหากมีความบกพร่องทางการได้ยิน ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะลดน้อยไป เพราะไม่มีภาษาและการพูดการติดต่อกับผู้อื่นเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองทางด้านสังคมก็จะบกพร่องตามไปด้วย
                 เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
                 เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จะพบว่าการเห็นและการเรียนรู้จะมีความสัมพันธ์กัน คนเราใช้การเห็นเพื่อการเรียนรู้เป็นสำคัญ หากมีความบกพร่องทางการเห็นแล้วมักจะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างเด่นชัด มองเห็นวัตถุกลมเป็นรูปเบี้ยวและพร่า เห็นเส้นแนวตั้งแนวขวางได้ชัดเจนไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงถือว่าการเห็นมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจะต้องปรับตัวในแบบต่าง ๆ หลายอย่างด้วยกันและในช่วงเวลาของการปรับตัวเหล่านี้จะทำให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นขาดโอกาสในการเรียนรู้ไปหรือทำให้เรียนรู้ได้ไม่ทันคนอื่น
                 เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
                 เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ จะพบว่าร่างกายและสุขภาพที่ดีก็ช่วยให้มีการเรียนรู้ที่ราบรื่น ส่วนคนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพก็ต้องมาเสียพลังงาน ความสนใจอยู่ในเรื่องร่างกายและสุขภาพมากกว่าการเรียนรู้ หรือเพราะความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพจึงทำให้เด็กต้องรักษาพยาบาลหรือเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่จึงขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หรือได้รับการเอาใจใส่ที่จะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพได้รับผลกระทบจากสาเหตุของความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ จนไม่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ ร่างกายและสุขภาพที่เหมาะสมเป็นส่วนสำคัญของความพร้อมของเด็ก เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพจะทำให้ตื่นตัวและพร้อมที่จะร่วมกิจกรรมทางการเรียนรู้ในอัตราเดียวกับเด็กปกติย่อมเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้การมีร่างกายหรือสุขภาพไม่ดีก็ยังทำให้เด็กต้องขาดเรียนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนรู้ เพราะเป็นเหตุให้เด็กขาดโอกาสในการฝึกทักษะที่จำเป็นตังแต่เริ่มแรก
                 เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
                 เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา จะพบว่าเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า การพูดและภาษามีความสัมพันธ์อย่างมากกับความสำเร็จในการเรียนรู้ของคนเรา ซึ่งบทบาทของการพูดและภาษานั้นจะมีมากหรือน้อยเพียงไรนั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับโอกาสที่เด็กจะได้รับจากสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมนี้เห็นได้ชัดเจนจากเด็กที่มาจากครอบครัวซึ่งอยู่ในสภาพขาดแคลน ห่างไกลจากชุมชน หรืออยู่ในวัฒนธรรมที่ไม่ได้ฝึกใช้ภาษาตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้มีปัญหาเมื่อเริ่มเรียน เพราะขาดภาษา หรือมีความล่าช้าด้านพัฒนาการทางภาษา การพูดและภาษาเป็นเสมือนกุญแจสำคัญในการพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของเด็ก ดังนั้นหากเด็กมีความบกพร่องทางการพูดและภาษาแล้วการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ก็จะบกพร่องตามไปด้วย ซึ่งทางการศึกษาถือกันว่าการพูดและภาษาเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้
                 เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
                 เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ จะพบว่าความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์เกี่ยวข้องกับเรื่องการปรับตัวทางอารมณ์และสังคม และเป็นปัญหาที่พบกันเสมอในหมู่เด็กที่ประสบความล้มเหลวทางการเรียนรู้ แม้แต่ผลการวิจัยเองก็มักจะออกมาในทำนองสนับสนุนให้เห็นว่า ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปรับตัวทางด้านอารมณ์และสังคม คือ เกิดความตึงเครียดของประสาท การมีความคิดเกี่ยวกับตนเองที่ไม่เหมาะสม ความกลัว หรือความกังวลต่อการเรียนรู้ ช่วงความสนใจสั้น ไม่เป็นตัวของตัวเอง กังวล เก็บตัว มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ไม่มีความรับผิดชอบ อย่างไรก็ตามไม่สามารถจะสรุปได้ว่าการที่เด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อน หรือหลังการมีปัญหาด้านการเรียนรู้
                 เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
                 เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จะพบว่าปัญหาทางการเรียนรู้ของเด็กส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการของการรับรู้ ซึ่งความสามารถในการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อความสามารถในการจำมากกว่าความสมารถในการเห็นความแตกต่าง และความคล้ายคลึงกันของสิ่งที่เรียนรู้อย่างไร้ความหมาย ดังนั้นถ้าเด็กคนใดบกพร่องในเรื่องการจำก็ควรฝึกฝนเกี่ยวกับรูปร่าง ถ้าบกพร่องในเรื่องของการแยกแยะ ก็ฝึกเกี่ยวกับการแยกแยะ เพราะประสบการณ์ตรงเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก และมีผลต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็กอย่างมาก ดังนั้นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จึงมีผลกระทบโดยตรงในด้านการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราต้องอาศัยองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันทั้งภายในและภายนอก เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จึงเป็นผลมาจากองค์ประกอบทางการเรียนรู้ต่าง ๆ และทำให้เด็กเหล่านี้มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆและมีความสามารถที่แตกต่างจากคนทั่ว ๆ ไป
                  การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
                  การศึกษาพิเศษ เป็นกระบวนการในการพัฒนาความสามารถของเด็กตามสภาพของความแตกต่างระหว่างบุคคล และเอกลักษณ์ของแต่ละคนวิธีการที่นำมาใช้สอนและอบรมเพื่อพัฒนาเด็กจึงจำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนด้วย โดยมีเป้าหมายที่ต้องการให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพสามารถพึ่งตนเองและก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จึงได้ยึดหลักของความแตกต่างระหว่างบุคคล และการมีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละคนเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสำเร็จในการจัดการศึกษาเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภทจะมีหลักในการจัดการศึกษาที่แตกต่างกันไป
                  อธิวัฒน์ พรหมจันทร์ ( https://www.gotoknow.org/posts/545771 )ได้กล่าวว่าการศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล 
                  แนวคิดและปรัชญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม 
                  การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ
                  ปรัชญาของการศึกษาแบบเรียนรวม
                  เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาเพื่อทุกคน (Education for All) เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ดังนั้นความต้องการของเด็ก ๆ ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันแม้อยู่ในชั้นเรียนเดียวกัน โรงเรียนและครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กทุกคนเรียนรวมกันและได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล
                   ทฤษฎีของการศึกษาแบบเรียนรวม
                   การดำเนินการศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการดังนี้ทำสัญญาร่วมกันในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศไว้เมื่อปี คริสตศักราช 1995 ให้ทุกประเทศจัดการศึกษาแบบเรียนรวมดำเนินการตามหลักการแบ่งสัดส่วนตามธรรมชาติ ซึ่งในสังคมหรือชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีเด็กพิการหรือเด็กพิเศษปะปนอยู่ เด็กทั้งหมดควรอยู่ร่วมกันตามปกติ โดยไม่มีการนำเด็กพิเศษออกจากชุมชนมารวมกันเพื่อรับการศึกษาที่เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาตินำบุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกัน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็กปกติและเด็กพิเศษ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และบุคลากรในชุมชนอื่นๆ พัฒนาเครือข่ายผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งครูทุกคนในโรงเรียนจะต้องช่วยกันทำงานไม่ถือว่าเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ถ้าหากมีเด็กพิเศษในโรงเรียน รวมทั้งการพบพูดคุยและปรึกษากับผู้ปกครอง จัดให้ผู้ปกครองเด็กพิเศษด้วยกันและผู้ปกครองเด็กปกติพบกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ แก่กันจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและบุคลากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในโรงเรียนและในชุมชน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนในกิจกรรมร่วมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติจัดการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและครอบคลุมถึงเด็กพิเศษทุกคนในกลุ่มเด็กปกติจัดให้มีความยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กพิเศษและเด็กปกติทุกคน
                  หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
                  แผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ
                  1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง
                  2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา ได้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัวทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน
                  3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ เด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมได้รับผลกระทบต่อการเรียนรู้ในด้าน ต่าง ๆ และหากเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ ซ้อนจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งแยกพิจารณาถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการแต่ละประเภท ดังนี้
                     1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา                  
                     2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
                     3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น                     
                     4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
                     5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา       
                     6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
                     7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้                            
                     8. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ                                 https://docs.google.com/presentation/d/1k9Vs6hE8BXzc3ARmOPvg329JPGcqUHbSKE87o-m7604/embed?slide=id.i0#slide=id.i56  ได้รวบรวบและกล่าวว่า การจัดการเรียนรวม สำหรับเด็กพิเศษที่เข้าเรียนรวมกับเพื่อนๆปกติแบบเคียงบ่าเคียงไหล่กันไปจะส่งผลให้เด็กเรียนรู้ที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน เด็กจะเข้าใจความเหมือนและการไม่เหมือนในการอยู่ร่วมกัน เด็กปกติเรียนรู้ที่จะยอมรับความพิการของเพื่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา การยอมรับความพิการ การไร้ความสามารถ จึงเป็นเร่องจำเป็น นอกจากนี้เด็กที่เรียนรวมนั้นจะได้รับประโยชน์จากการร่วมมือและความรู้สึกรับผิดชอบที่จะพัฒนาไปด้วยกันในชั้นเรียน การมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้จะส่งผลให้มีการยอมรับซึ่งกันและกัน รู้สึกและตระหนักถึงความพิการได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญเมื่อเด็กเหล่านี้ย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามเด็กที่เรียนในระบบ “Inclusion” ยังคงต้องได้รับการบริการศึกษาพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นครูพิเศษ สื่อสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการทางการศึกษาพิเศษต่อเนื่องกันไป การเรียนในระบบนี้มิได้หมายความว่าจะลดบริการพิเศษต่างๆลงหากเพียงแต่มีการเปลี่ยนวิธีการจัดการและการให้บริการ
                      ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
                      1. การจัดการเรียนรวมให้กับเด็กพิการหรือมีความบกพร่องนั้นจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการจัดให้นักเรียนได้เรียนในสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด (The Least Restrictive Environment : LRE )
                      2. การจัดการเรียนรวมต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาอาชีพ (Transdisciplinary Team) และพ่อแม่หรือผู้ปกครองในลักษณะการรวมพลัง (Collaboration)
                      3. การจัดให้นักเรียนพิการที่มีความแตกต่างเฉพาะบุคคลเข้าเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปนั้นต้องอาศัยแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)

สรุป
                     จากการศึกษาการเรียนรู้แบบเรียนรวมทำให้สรุปได้ว่า เป็นการรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก และวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล  โดยแนวคิดและปรัชญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโดยมีแผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคล ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ1. องค์ประกอบด้านด้านสรีรวิทยา 2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา และ3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม
                     นอกจากนี้เด็กที่เรียนรวมนั้นจะได้รับประโยชน์จากการร่วมมือและความรู้สึกรับผิดชอบที่จะพัฒนาไปด้วยกันในชั้นเรียน การมีปฏิสัมพันธ์เช่นนี้จะส่งผลให้มีการยอมรับซึ่งกันและกัน และในการจัดการเรียนรวมนั้นมีประโยชน์มากมาย ได้แก่ เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการยอมรับจากเพื่อนและบุคคลรอบข้างมากขึ้น ปกติได้เรียนรู้จากชีวิตจริงว่ามีคนที่มีความแตกต่างจากตนเองและเข้าใจสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีความเครียด ความวิตกกังวล ความอาย ลดลง และรู้สึกว่าตนเองไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว ผู้ปกครองเด็กปกติ ได้เรียนรู้การเป็นผู้ให้และผู้รับ และ ชุมชนหรือสังคม ทำให้ไม่เกิดการแบ่งแยกในสังคม เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน


ที่มา:
https://www.gotoknow.org/posts/548117 . การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม.สืบค้นเมื่อวัน
           ที่ 
10 กันยายน พ.ศ.2558.
อธิวัฒน์ พรหมจันทร์. [online]  https://www.gotoknow.org/posts/545771 .การบูรณาการ
            เรียนรู้แบบเรียนรวม.สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558.
https://docs.google.com/presentation/d/1k9Vs6hE8BXzc3ARmOPvg329JPGcqUHbSKE87o-m7604/embed?slide=id.i0#slide=id.i56 .ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษาแบบเรียนรวม.สืบค้น 
            เมื่อวันที่ กันยายน  2558.





การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                 อาภรณ์  ใจเที่ยง (http://www.sut.ac.th/tedu/news/Teaching.htm)ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นฯสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
                 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้ (คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543 : 36-37)
                 1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม ได้แก่ การเรียนรู้แบบสืบค้น แบบค้นพบ แบบแก้ปัญหา แบบ สร้างแผนผังความคิดแบบใช้กรณีศึกษา แบบตั้งคำถามแบบใช้การตัดสินใจ
                 2. เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล ได้แก่ วิธีการเรียนแบบศูนย์การเรียน แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบชุดกิจกรรมดารเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                 3. เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ประกอบการเรียน เช่น การใช้สิ่งพิมพ์ ตำราเรียน และแบบฝึกหัดการใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน ศูนย์การเรียนชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนสำเร็จรูป
                  4. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์ ประกอบด้วย การโต้วาทีกลุ่ม Buzz การ อภิปราย การระดมพลังสมอง กลุ่มแก้ปัญหา กลุ่มของการประชุมต่าง ๆ การแสดงบทบาทสมมติ กลุ่มสืบค้นคู่คิดการฝึกปฏิบัติ เป็นต้น
                  5. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ เช่น การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เกม กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลองละคร เกม กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลอง ละคร บทบาท สมมติ
                  6. เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ได้แก่ ปริศนาความคิดร่วมมือแข่งขันหรือกลุ่มสืบค้น กลุ่มเรียนรู้ ร่วมกัน ร่วมกันคิด กลุ่มร่วมมือ
                  7. เทคนิคการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ได้แก่ การเรียนการสอนแบบใช้เว้นเล่าเรื่อง (Story line) และการเรียนการสอนแบบ แก้ปัญหา (Problem-Solving)
                  เทคนิควิธีการเหล่านี้ล้วนเป็นวิธีที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้คิดค้นคว้าศึกษาทดลอง ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนจึงมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในหลาย ๆ ลักษณะ ดังนี้ (ชาติแจ่มนุช และคณะ : มทป)
                  1. เป็นผู้จัดการ (Manager) เป็นผู้กำหนดบทบาทให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนเข้าร่วมทำกิจกรรม แบ่งกลุ่ม หรือจับคู่ เป็นผู้มอบหมายงานหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ นักเรียนทุกคน จัดการให้ ทุกคนได้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของตน
                  2. เป็นผู้ร่วมทำกิจกรรม (An active participant) เข้าร่วมทำกิจกรรมในกลุ่มจริง ๆ พร้อมทั้งให้ ความคิดและความเห็นหรือเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวของนักเรียนขณะทำกิจกรรม
                  3. เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งวิทยาการ (Helper and resource) คอยให้คำตอบเมื่อนักเรียน ต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการ ตัวอย่าง เช่น คำศัพท์หรือไวยากรณ์การให้ข้อมูลหรือความรู้ ในขณะที่นักเรียนต้องการ ซึ่งจะช่วยทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
                  4. เป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง (Supporter and encourager) ช่วยสนับสนุนด้านสื่ออุปกรณ์ หรือให้คำแนะนำที่ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
                  5. เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ (Monitor) คอยตรวจสอบงานที่นักเรียนผลิตขึ้นมาก่นที่จะส่งต่อไปให้ นักเรียนผลิตขึ้นมาก่อนที่จะส่งต่อไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความถูกต้อง ของคำศัพท์ ไวยากรณ์ การแก้คำผิด อาจจะทำได้ทั้งก่อนทำกิจกรรม หรือบางกิจกรรมอาจจะ แก้ทีหลังได้
ลักษณะของการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จากที่กล่าวมาทั้งหมด สามารถสรุปลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ดังนี้             
                  1. Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ หรือปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความ กระตือรือร้น เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ ได้ใช้ ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ผู้สอนทำหน้าที่ เตรียมการจัด บรรยากาศการเรียนรู้ จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คำปรึกษาและสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
                   2. Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง อันเกิด จากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man) ที่พึงประสงค์
                   3. Resource เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลายทั้งบุคคลและ เครื่องมือทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่ เป็นมนุษย์ (เช่น ชุมชน ครอบครัว องค์กรต่าง ๆ) ธรรมชาติและเทคโนโลยี ตามหลักการที่ว่า “การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์)
                   4. Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดถูก ทางคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น (ทิศนา แขมมณี และคณะ, 2543 : 55-59) การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดอยู่เสมอในลักษณะ ต่าง ๆ จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ ในการคิด มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถแสดงความคิด เห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
                   5. Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจสาระการเรียนรู้ ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษาท้าทาย ให้แสดง ความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
                   6. Participation เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดงาน วางเป้าหมายร่วมกัน และมีโอกาสเลือกทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับความถนัดความสามารถ ความสนใจ ของตนเอง ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนและสามารถ ประยุกต์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
                   7. Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน  ผู้สอนยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพมากกว่าเปรียบเทียบแข่งขันระหว่างกันโดยมีความเชื่อมั่นผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
                   8. Good Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนไดพัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม เช่น ความรับผิดชอบ ความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ ความขยัน ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ฯลฯ และ ลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับผู้อื่น และ การเห็นคุณค่าของงาน เป็นต้น
                   ยาเบ็น  เรืองจรูญศรี  (http://www.kroobannok.com/blog/39847)    ได้รวบรวมแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังนี้
                   การเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีแนวคิดมาจากแนวคิดของ จอห์น  ดิวอี้ (John Dewey) ซึ่งเป็นต้นคิดในเรื่องของการเรียนรู้โดยการกระทำ หรือ learning by doing ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ โดยเปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้รับ” มาเป็น “ผู้เรียน”  และ บทบาทของ “ ครู” เป็น ผู้ถ่ายทอดข้อมูล มาเป็น “ผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้”  ให้ผู้เรียนได้ปรับบทบาทนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนจุดการเรียน
ความหมายของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้
                   ชนาธิป พรกุล (2543; 50) ได้ให้ความหมายว่า การเรียนรู้ที่เกิดจากการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปเป็นความรู้โดยตัวผู้เรียนเอง ผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทหน้าที่จากการถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้วางแผน จัดการ ชี้แนะ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงหมายถึง การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                   ทิศนา แขมมณี (2548 : 120 ) กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะได้รับ และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ อันจะนำผู้เรียนไปสูการเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง
                    สำลี  รักสุทธี (2544 : 1) กล่าวว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดคือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ตามมาตรา 22-24 โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ กิจกรรมทางการศึกษา ลงมือปฏิบัติจริง ครูเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ชี้บอกให้ความรู้อย่างเดียว เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวก คอยช่วยเหลือแนะนำ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียน  
                    บรรพต สุวรรณประเสริฐ (2544 : 5) กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดหมายถึง การกำหนดจุดหมาย สาระ กิจกรรม แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียน และการประเมินผลที่มุ่งพัฒนา “คน” และ “ชีวิต” ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เต็มตามความสามารถ สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
                   พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ (2542 : 35) กล่าวว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉงเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายเป็นวิธีการที่ให้อำนาจแก่ผู้เรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
                   วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542 : 4) กล่าวว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือ การจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองได้เต็มที่
                   วชิราพร อัจฉริยโกศล (2548) กล่าวว่า การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ “กระบวนการเรียนรู้ที่ให้อิสระแก่ผู้เรียนในการสำรวจสิ่งที่ศึกษาในด้านที่สนใจ ผลักดันให้หาคำตอบ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเข้าใจจากผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ซึ่งก็คือผู้สอนนั่นเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบทั้งตัวบุคคล รวมทั้งสติปัญญา ความคิด และความรู้สึก” 
                   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 79) กล่าวว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนรวมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ได้คิดเอง ปฏิบัติเอง และมี ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหรือแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้โดยครูเป็นผู้วางแผนร่วมกับผู้เรียน จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้น ท้าทาย ให้กำลังใจ และช่วยแก้ปัญหาหรือชี้แนะแนวทางการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องให้แก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
                  สมใจ  ฤทธิสนธี (http://www.src.ac.th/web2/jurnal/issu2/center.htm )ได้กล่าวถึงกลยุทธ์ในการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางไว้ว่า  การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  เป็นแนวความคิดที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีบทบาท  มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้โดยการลงมือกระทำ  ปฏิบัติ  แก้ปัญหา  หรือ  ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยยึดความสนใจ   ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง    และนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้  ตลอดจนเน้นกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียน ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง จะเรียนอย่างมีความสุข มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ มีจิตใจที่สดชื่นแจ่มใสในระหว่างดำเนินกิจกรรม
                  ก. จุดมุ่งหมายของการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                      1. เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น
                      2. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถต่างๆ  ตามความสามารถของตน
                      3. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำ ปฏิบัติหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
                      4. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสนใจความสามารถของตนเอง
                      5. เพื่อให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงการเรียนรู้กับสภาพชีวิตประจำวัน
                      6. เพื่อให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้กับเพื่อนๆ
                   ข. ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                      1. จัดตามความสนใจ ความสามารถ ตั้งแต่การร่วมกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน  สื่อ และการประเมินผล
                      2. จัดให้ผู้เรียนได้ลงมือทำกิจกรรม ปฏิบัติ แก้ปัญหาหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากสื่อเพื่อน และครู
                      3. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะต่างๆ เช่น ทักษะทางการคิดวิเคราะห์ การสังเกต การทดลองค้นคว้า การจดบันทึกตลอดจนการสังเคราะห์การสรุปข้อความรู้ต่างๆของตนเอง
                      4. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
                      5. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกับเพื่อนๆจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ
                   ค. ประเภทของการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง   แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ การสอนแบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลัก และการสอนแบบเน้นสื่อ
                       1. แบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลัก การสอนแบบนี้ได้แก่
                           ก. การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ( Problem Base Learning )
                              เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการเรียนรู้ ผู้เรียนจะคิดวิเคราะห์ปัญหา  ตั้งสมมุติฐานอันเป็นที่มาของปัญหา และหาทางทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ผู้เรียนจะต้องมีความรู้พื้นฐานที่จะเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ มาก่อน เพื่อจะสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ โดยกระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลักได้   หากพื้นความรู้เดิมของผู้เรียนไม่เพียงพอ   จะต้องค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองในการดำเนินการสอนครูจะต้องนำปัญหาที่เป็นความจริงมาเขียนเป็น Case หรือสถานการณ์ในผู้เรียน โดยผู้เรียน  จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
                               1. ทำความเข้าใจกับศัพท์บางคำ หรือแนวคิดบางอย่างในสถานการณ์นั้นๆ
                               2. ระบุประเด็นปัญหาจากสถานการณ์
                               3. วิเคราะห์ประเด็นปัญหา
                               4. ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ
                               5. ทดสอบสมมุติฐานและจัดลำดับความสำคัญ
                               6.  กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
                               7. รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร และความรู้จากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง
                               8. สังเคราะห์ข้อมูลใหม่ที่ได้ พร้อมทั้งทดสอบ
                               9. สรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาปัญหา
                              กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก มีลักษณะที่สำคัญ คือ  ผู้เรียนจะ ได้เรียนด้วยกันเป็นกลุ่มๆ ประมาณ 6 – 8 คน มีการอภิปรายและค้นคว้าหาความรู้ด้วยกัน   มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง   เนื้อหาสาระที่กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้นั้น  จะเป็นเนื้อหาที่เกิดจากการบูรณาการเนื้อหาต่าง ๆเข้าด้วยกัน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาที่กำหนดนั้นอย่างชัดเจน
                               ข. การสอนแบบนิรมิตวิทยา ( Constructivism )
                                เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเอง      โดยมีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นกับความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของผู้เรียนอาจได้จากการดำเนินกิจกรรมการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษา ค้นคว้า ทดลองระดมสมอง ศึกษาในความรู้ ฯลฯ การตรวจสอบองค์ความรู้ใหม่ทำให้ได้ทั้งการตรวจสอบกันเอง ในระหว่างกลุ่มผู้เรียน ครูจะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ใหม่ให้ถูกต้อง
                                ลำดับขั้นตอนการสอนตามแนวความคิด Constructivism  รายละเอียดของการดำเนินการสอนตามรูปแบบมีดังนี้
                                 1. ครูบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน
                                 2. ครูให้ผู้เรียนระดมพลังสมองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
                                 3. ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
                                 4. ครูให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นมาใช้ในสถานการณ์ที่ครูกำหนดให้
                                 5. ครูให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนครั้งนี้
                                ค.การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด (Concept Attainment)
                                   เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนทราบถึงคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง    หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง โดยสามารถระบุลักษณะเด่น ลักษณะรองของสิ่งนั้น ๆได้ สามารถนำความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้  ขั้นตอนการสอนมีดังนี้
                                   1. ครูจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการนำเสนอเหตุการณ์รายละเอียดของสิ่งนั้น
                                   2. ครูให้ผู้เรียนระบุลักษณะเด่น ลักษณะรองของสิ่งที่ได้สังเกตและให้ผู้เรียนหาลักษณะที่เหมือนกัน ลักษณะที่แตกต่างกัน
                                   3. ครูให้ผู้เรียนสรุปลักษณะสำคัญที่สังเกตได้พร้อมให้ชื่อของสิ่งนั้น
                                   4. ครูตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนและความเป็นไปได้ ความเหมาะสมของชื่อความคิดรวบยอดนั้น
                                   5. ครูกำหนดสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนได้นำความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นไปใช้
                                ง. การสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Co-Operative Learning)
                                   เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนร่วมมือกันทำงาน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และประสานงานกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียน
                                ลักษณะของการจัดการเรียนการสอน
                                   1. จัดชั้นเรียนโดยการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆประมาณ ๒-๖ คน   โดยจัดคละกันตามความสามารถทางการเรียนมีทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน
                                   2. ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและรับผิดชอบการเรียนรู้ของเพื่อน ๆภายในกลุ่มของตนเองด้วย
                                    3. สมาชิกทุกคนในกลุ่ม จะต้องร่วมมือในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ โดยสนับสนุนยอมรับ  และไว้วางใจซึ่งกันและกัน เพื่อให้สมาชิกทุกคนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
                                รูปแบบกิจกรรมการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือประสานใจ
                                     1. Match Mind (คู่คิด)
                                     2. Pairs-Check (คู่ตรวจสอบ)
                                     3. Tree-Step Interview
                                     4. Think-Pair Share
                                     5. Team-Word Webbing
                                     6. Round table
                                     7. Partners (คู่หู)
                                     8. Jigsaw
                                 จ. การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
                                    เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการใช้ความคิด พิจารณาตัดสินเรื่องราวปัญหาข้อสงสัยต่าง ๆอย่างรอบคอบ และมีเหตุผล ครูจะเป็นผู้นำเสนอปัญหาและดูแลให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมของผู้เรียน กิจกรรมการสอนจะเริ่มจากปัญหาที่สอดคล้องกับวุฒิภาวะและประสบการณ์ของผู้เรียน ซึ่งยั่วยุผู้เรียนให้อยากศึกษา  ผู้เรียนจะรู้สึกว่าไม่มีคำตอบหรือคำตอบมีแต่ไม่เพียงพอ ผู้เรียนต้องมีการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ และใช้กระบวนการคิดอย่างหลากหลายรวมทั้งวิเคราะห์ไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล  และเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การตัดสินเพื่อเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดกับปัญหาที่นำมาใช้ในบทเรียน
                                  ขั้นตอนการสอนมีดังนี้
                                  1. ครูนำเสนอปัญหาซึ่งเป็นคำถามที่เร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิด ผู้เรียนตอบคำถามของครูโดยให้คำตอบที่หลากหลาย
                                  2. ครูให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดโดยการอภิปรายร่วมกัน หรือให้ค้นคว้าจากแหล่งความรู้เท่าที่มีอยู่
                                  3. ครูให้ผู้เรียนช่วยกันคัดเลือกคำตอบที่ตรงกับประเด็นปัญหา
                                  4. ครูให้ผู้เรียนสรุปคำตอบที่เด่นชัดที่สุด
                              2. แบบเน้นสื่อ
                                  เป็นประเภทของการสอนในลักษณะใช้สื่อเป็นหลัก เช่น  การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป   การสอนแบบศูนย์การเรียน การสอนโดยใช้โปรแกรม CAI เป็นต้น
                               ง. การวัดผลและประเมินผล
                                  การวัดผลและประเมินผลตามแนวการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง   จะนิยมใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพแท้จริงใน ห้องเรียน (Authentic Assessment) ทั้งนี้เนื่องจากการวัดและประเมินผลตามสภาพที่แท้จริงในห้องเรียน จะเป็นการวัดและประเมินผลที่บอกถึงระดับความรู้ ความสามารถที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน อันเนื่องมาจากการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจนกระทั่งได้ชิ้นงานในรูปแบบหนึ่งออกมาในตอนสุดท้าย   เทคนิคที่นิยมใช้ตามแนว  A.A  ได้แก่การใช้ Portfolio  การใช้แบบทดสอบความสามารถจริง (Authentic Test) การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสัมภาษณ์เป็นต้น
                             จ. บทบาทของครูตามแนวการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                                 บทบาทของครูตามแนวการสอนนี้ จะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีบทบาทใหม่ ดังนี้
                                  1. เป็นผู้จัดการ (Manager) เป็นผู้กำหนดบทบาทให้ผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับความสามารถ ความสนใจของผู้เรียน
                                  2. เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งความรู้ (Helper and resource) เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการในยามที่ผู้เรียนต้องการ อันจะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีประสิทธิภาพ
                                  3. เป็นผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนการสอน ให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านสื่ออุปกรณ์ คำแนะนำ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำเนินกิจกรรมไปได้อย่างราบรื่น
                                  4. เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ   คอยตรวจสอบกระบวนการทำงาน ผลงานของผู้เรียน  รวมทั้งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเพื่อนำผลมาปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
                             ฉ. บทบาทของผู้เรียนตามแนวการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                                  1. เป็นผู้ลงมือกระทำ ผู้เรียนจะต้องดำเนินกิจกรรมต่าง ๆที่ครูจัดเตรียมให้ด้วยตนเอง เพื่อผลในการเรียนรู้
                                  2. เป็นผู้มีส่วนร่วม ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน
                                  3. เป็นสมาชิกของกลุ่มผู้เรียน  ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์   ความคิดเห็น สร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียนอื่น ๆ  ในกลุ่มเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                                  4. เป็นผู้ประเมิน ผู้เรียนจะต้องคอยตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  ด้วยการประเมินผลด้วยตัวเอง   และผู้เรียนในกลุ่มเป็นต้น


สรุป
                    การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะได้รับ และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ อันจะนำผู้เรียนไปสูการเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง ซึ่งในการจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นฯสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป อีกทั้งการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางถือเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉงเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายเป็นวิธีการที่ให้อำนาจแก่ผู้เรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
                       ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                             1. จัดตามความสนใจ ความสามารถ ตั้งแต่การร่วมกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน  สื่อ และการประเมินผล
                             2. จัดให้ผู้เรียนได้ลงมือทำกิจกรรม ปฏิบัติ แก้ปัญหาหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากสื่อเพื่อน และครู
                              3. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะต่างๆ เช่น ทักษะทางการคิดวิเคราะห์ การสังเกต การทดลองค้นคว้า การจดบันทึกตลอดจนการสังเคราะห์การสรุปข้อความรู้ต่างๆของตนเอง
                              4. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
                              5. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกับเพื่อนๆจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ
                       ขั้นตอนการสอนมีดังนี้
                              1. ครูนำเสนอปัญหาซึ่งเป็นคำถามที่เร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิด ผู้เรียนตอบคำถามของครูโดยให้คำตอบที่หลากหลาย
                              2. ครูให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดโดยการอภิปรายร่วมกัน หรือให้ค้นคว้าจากแหล่งความรู้เท่าที่มีอยู่
                               3. ครูให้ผู้เรียนช่วยกันคัดเลือกคำตอบที่ตรงกับประเด็นปัญหา
                               4. ครูให้ผู้เรียนสรุปคำตอบที่เด่นชัดที่สุด
                        ข้อดีของการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                               1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น
                               2. ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถต่างๆ  ตามความสามารถของตน
                               3. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำ ปฏิบัติหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
                               4. ผู้เรียนได้เรียนตามความสนใจความสามารถของตนเอง
                               5. ผู้เรียนได้เชื่อมโยงการเรียนรู้กับสภาพชีวิตประจำวัน
                               6. ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้กับเพื่อนๆ


ที่มา:
อาภรณ์  ใจเที่ยง.[online] http://www.sut.ac.th/tedu/news/Teaching.htm .การจัดกิจกรรมการ
              เรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.สืบค้นเมื่อวันที่  29  สิงหาคม พ..2558.
ยาเบ็น  เรืองจรูญศรี.[online] http://www.kroobannok.com/blog/39847 .การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้
              เรียนเป็นสำคัญ.สืบค้นเมื่อวันที่ 29  สิงหาคม 2558.
สมใจ  ฤทธิสนธี [online]  http://www.src.ac.th/web2/jurnal/issu2/center.htm  .กลยุทธ์ในการ
              สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.สืบค้นเมื่อวันที่ 29  สิงหาคม 2558.