อาภรณ์ ใจเที่ยง (http://www.sut.ac.th/tedu/news/Teaching.htm)ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ
อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นฯสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน
จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้
(คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543 : 36-37)
1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม ได้แก่
การเรียนรู้แบบสืบค้น แบบค้นพบ แบบแก้ปัญหา แบบ สร้างแผนผังความคิดแบบใช้กรณีศึกษา
แบบตั้งคำถามแบบใช้การตัดสินใจ
2. เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล
ได้แก่ วิธีการเรียนแบบศูนย์การเรียน แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
แบบชุดกิจกรรมดารเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง
ๆ ประกอบการเรียน เช่น การใช้สิ่งพิมพ์ ตำราเรียน
และแบบฝึกหัดการใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน ศูนย์การเรียนชุดการสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนสำเร็จรูป
4. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์
ประกอบด้วย การโต้วาทีกลุ่ม Buzz การ อภิปราย
การระดมพลังสมอง กลุ่มแก้ปัญหา กลุ่มของการประชุมต่าง ๆ การแสดงบทบาทสมมติ
กลุ่มสืบค้นคู่คิดการฝึกปฏิบัติ เป็นต้น
5. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์
เช่น การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เกม กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลองละคร เกม
กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลอง ละคร บทบาท สมมติ
6. เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ
ได้แก่ ปริศนาความคิดร่วมมือแข่งขันหรือกลุ่มสืบค้น กลุ่มเรียนรู้ ร่วมกัน
ร่วมกันคิด กลุ่มร่วมมือ
7. เทคนิคการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
ได้แก่ การเรียนการสอนแบบใช้เว้นเล่าเรื่อง (Story line) และการเรียนการสอนแบบ แก้ปัญหา (Problem-Solving)
เทคนิควิธีการเหล่านี้ล้วนเป็นวิธีที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
ได้คิดค้นคว้าศึกษาทดลอง ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้สอนจึงมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในหลาย ๆ ลักษณะ ดังนี้ (ชาติแจ่มนุช และคณะ
: มทป)
1. เป็นผู้จัดการ (Manager) เป็นผู้กำหนดบทบาทให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนเข้าร่วมทำกิจกรรม แบ่งกลุ่ม
หรือจับคู่ เป็นผู้มอบหมายงานหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ นักเรียนทุกคน จัดการให้
ทุกคนได้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของตน
2. เป็นผู้ร่วมทำกิจกรรม
(An active participant) เข้าร่วมทำกิจกรรมในกลุ่มจริง
ๆ พร้อมทั้งให้
ความคิดและความเห็นหรือเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวของนักเรียนขณะทำกิจกรรม
3. เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งวิทยาการ (Helper and
resource) คอยให้คำตอบเมื่อนักเรียน
ต้องการความช่วยเหลือทางวิชาการ ตัวอย่าง เช่น
คำศัพท์หรือไวยากรณ์การให้ข้อมูลหรือความรู้ ในขณะที่นักเรียนต้องการ
ซึ่งจะช่วยทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
4. เป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง
(Supporter and encourager) ช่วยสนับสนุนด้านสื่ออุปกรณ์
หรือให้คำแนะนำที่ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
5. เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ
(Monitor) คอยตรวจสอบงานที่นักเรียนผลิตขึ้นมาก่นที่จะส่งต่อไปให้
นักเรียนผลิตขึ้นมาก่อนที่จะส่งต่อไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความถูกต้อง ของคำศัพท์ ไวยากรณ์ การแก้คำผิด
อาจจะทำได้ทั้งก่อนทำกิจกรรม หรือบางกิจกรรมอาจจะ แก้ทีหลังได้
ลักษณะของการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จากที่กล่าวมาทั้งหมด
สามารถสรุปลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ดังนี้
1. Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ หรือปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความ
กระตือรือร้น เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ
ได้ใช้ ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง
ผู้สอนทำหน้าที่ เตรียมการจัด บรรยากาศการเรียนรู้
จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คำปรึกษาและสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
2. Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
อันเกิด จากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ทำให้
ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้
เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning
Man) ที่พึงประสงค์
3. Resource เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง
ๆ ที่หลากหลายทั้งบุคคลและ เครื่องมือทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน
ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่ เป็นมนุษย์ (เช่น ชุมชน
ครอบครัว องค์กรต่าง ๆ) ธรรมชาติและเทคโนโลยี ตามหลักการที่ว่า “การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์)
4. Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด
ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด
คิดชัดเจน คิดถูก ทางคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น (ทิศนา
แขมมณี และคณะ, 2543 : 55-59) การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดอยู่เสมอในลักษณะ
ต่าง ๆ จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล
มีวิจารณญาณ ในการคิด มีความคิดสร้างสรรค์
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ
ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถแสดงความคิด เห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี
เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
5. Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก
ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจสาระการเรียนรู้
ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษาท้าทาย ให้แสดง
ความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
6. Participation เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดงาน
วางเป้าหมายร่วมกัน
และมีโอกาสเลือกทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับความถนัดความสามารถ
ความสนใจ ของตนเอง ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น
มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนและสามารถ ประยุกต์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
7. Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน ผู้สอนยอมรับในความสามารถ
ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพมากกว่าเปรียบเทียบแข่งขันระหว่างกันโดยมีความเชื่อมั่นผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้
และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
8. Good Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนไดพัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม เช่น ความรับผิดชอบ
ความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ ความขยัน ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ฯลฯ และ
ลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับผู้อื่น
และ การเห็นคุณค่าของงาน เป็นต้น
การเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
มีแนวคิดมาจากแนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ซึ่งเป็นต้นคิดในเรื่องของการเรียนรู้โดยการกระทำ
หรือ learning by doing ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก
ซึ่งรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ
โดยเปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้รับ” มาเป็น “ผู้เรียน” และ บทบาทของ “ ครู” เป็น ผู้ถ่ายทอดข้อมูล มาเป็น “ผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้” ให้ผู้เรียนได้ปรับบทบาทนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนจุดการเรียน
ความหมายของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ดังนี้
ชนาธิป พรกุล (2543;
50) ได้ให้ความหมายว่า การเรียนรู้ที่เกิดจากการคิด การค้นคว้า
การทดลอง และการสรุปเป็นความรู้โดยตัวผู้เรียนเอง ผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทหน้าที่จากการถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้วางแผน
จัดการ ชี้แนะ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน
ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงหมายถึง
การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ทิศนา แขมมณี (2548
: 120 ) กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง
โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะได้รับ
และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้
ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ
อันจะนำผู้เรียนไปสูการเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง
สำลี รักสุทธี (2544 :
1) กล่าวว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดคือ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ตามมาตรา 22-24 โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ กิจกรรมทางการศึกษา
ลงมือปฏิบัติจริง ครูเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ชี้บอกให้ความรู้อย่างเดียว
เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวก คอยช่วยเหลือแนะนำ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียน
บรรพต
สุวรรณประเสริฐ (2544 : 5) กล่าวว่า
กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดหมายถึง การกำหนดจุดหมาย สาระ กิจกรรม
แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียน และการประเมินผลที่มุ่งพัฒนา “คน” และ “ชีวิต” ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เต็มตามความสามารถ สอดคล้องกับความถนัด
ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
พิมพ์พันธ์
เตชะคุปต์ (2542 : 35) กล่าวว่า
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
เป็นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉงเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายเป็นวิธีการที่ให้อำนาจแก่ผู้เรียน
ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัฒนาพร
ระงับทุกข์ (2542 : 4) กล่าวว่า
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือ
การจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง
เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองได้เต็มที่
วชิราพร
อัจฉริยโกศล (2548) กล่าวว่า
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ “กระบวนการเรียนรู้ที่ให้อิสระแก่ผู้เรียนในการสำรวจสิ่งที่ศึกษาในด้านที่สนใจ
ผลักดันให้หาคำตอบ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเข้าใจจากผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ซึ่งก็คือผู้สอนนั่นเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบทั้งตัวบุคคล
รวมทั้งสติปัญญา ความคิด และความรู้สึก”
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
(2543 : 79) กล่าวว่า
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนรวมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด
โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ได้คิดเอง ปฏิบัติเอง และมี
ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหรือแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
จนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้โดยครูเป็นผู้วางแผนร่วมกับผู้เรียน
จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้น ท้าทาย ให้กำลังใจ
และช่วยแก้ปัญหาหรือชี้แนะแนวทางการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องให้แก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
สมใจ ฤทธิสนธี (http://www.src.ac.th/web2/jurnal/issu2/center.htm )ได้กล่าวถึงกลยุทธ์ในการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางไว้ว่า
การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นแนวความคิดที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีบทบาท มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น
ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้โดยการลงมือกระทำ ปฏิบัติ แก้ปัญหา หรือ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยยึดความสนใจ ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ
และสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง และนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้ ตลอดจนเน้นกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียน
ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง จะเรียนอย่างมีความสุข
มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ มีจิตใจที่สดชื่นแจ่มใสในระหว่างดำเนินกิจกรรม
ก. จุดมุ่งหมายของการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถต่างๆ ตามความสามารถของตน
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำ
ปฏิบัติหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
4. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสนใจความสามารถของตนเอง
5. เพื่อให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงการเรียนรู้กับสภาพชีวิตประจำวัน
6. เพื่อให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้กับเพื่อนๆ
ข. ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1. จัดตามความสนใจ
ความสามารถ ตั้งแต่การร่วมกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ และการประเมินผล
2. จัดให้ผู้เรียนได้ลงมือทำกิจกรรม ปฏิบัติ
แก้ปัญหาหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากสื่อเพื่อน และครู
3. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะต่างๆ
เช่น ทักษะทางการคิดวิเคราะห์ การสังเกต การทดลองค้นคว้า การจดบันทึกตลอดจนการสังเคราะห์การสรุปข้อความรู้ต่างๆของตนเอง
4. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
5. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความรู้
ความคิดกับเพื่อนๆจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ค. ประเภทของการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ การสอนแบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลัก
และการสอนแบบเน้นสื่อ
1. แบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลัก การสอนแบบนี้ได้แก่
ก. การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ( Problem Base Learning )
เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการเรียนรู้
ผู้เรียนจะคิดวิเคราะห์ปัญหา ตั้งสมมุติฐานอันเป็นที่มาของปัญหา และหาทางทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ผู้เรียนจะต้องมีความรู้พื้นฐานที่จะเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ มาก่อน
เพื่อจะสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ โดยกระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลักได้ หากพื้นความรู้เดิมของผู้เรียนไม่เพียงพอ จะต้องค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองในการดำเนินการสอนครูจะต้องนำปัญหาที่เป็นความจริงมาเขียนเป็น Case หรือสถานการณ์ในผู้เรียน โดยผู้เรียน จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ทำความเข้าใจกับศัพท์บางคำ หรือแนวคิดบางอย่างในสถานการณ์นั้นๆ
2. ระบุประเด็นปัญหาจากสถานการณ์
3. วิเคราะห์ประเด็นปัญหา
4. ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ
5. ทดสอบสมมุติฐานและจัดลำดับความสำคัญ
6. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
7. รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร
และความรู้จากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง
8. สังเคราะห์ข้อมูลใหม่ที่ได้
พร้อมทั้งทดสอบ
9. สรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาปัญหา
กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
มีลักษณะที่สำคัญ คือ ผู้เรียนจะ ได้เรียนด้วยกันเป็นกลุ่มๆ ประมาณ 6 – 8 คน มีการอภิปรายและค้นคว้าหาความรู้ด้วยกัน มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง เนื้อหาสาระที่กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้นั้น จะเป็นเนื้อหาที่เกิดจากการบูรณาการเนื้อหาต่าง
ๆเข้าด้วยกัน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาที่กำหนดนั้นอย่างชัดเจน
ข. การสอนแบบนิรมิตวิทยา
( Constructivism )
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเอง โดยมีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นกับความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของผู้เรียนอาจได้จากการดำเนินกิจกรรมการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษา
ค้นคว้า ทดลองระดมสมอง ศึกษาในความรู้ ฯลฯ
การตรวจสอบองค์ความรู้ใหม่ทำให้ได้ทั้งการตรวจสอบกันเอง ในระหว่างกลุ่มผู้เรียน
ครูจะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ใหม่ให้ถูกต้อง
ลำดับขั้นตอนการสอนตามแนวความคิด Constructivism รายละเอียดของการดำเนินการสอนตามรูปแบบมีดังนี้
1. ครูบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน
2. ครูให้ผู้เรียนระดมพลังสมองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
3. ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
4. ครูให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นมาใช้ในสถานการณ์ที่ครูกำหนดให้
5. ครูให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนครั้งนี้
ค.การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด (Concept
Attainment)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนทราบถึงคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
โดยสามารถระบุลักษณะเด่น ลักษณะรองของสิ่งนั้น ๆได้
สามารถนำความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้ ขั้นตอนการสอนมีดังนี้
1. ครูจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
โดยการนำเสนอเหตุการณ์รายละเอียดของสิ่งนั้น
2. ครูให้ผู้เรียนระบุลักษณะเด่น
ลักษณะรองของสิ่งที่ได้สังเกตและให้ผู้เรียนหาลักษณะที่เหมือนกัน
ลักษณะที่แตกต่างกัน
3. ครูให้ผู้เรียนสรุปลักษณะสำคัญที่สังเกตได้พร้อมให้ชื่อของสิ่งนั้น
4. ครูตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนและความเป็นไปได้
ความเหมาะสมของชื่อความคิดรวบยอดนั้น
5. ครูกำหนดสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนได้นำความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นไปใช้
ง. การสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Co-Operative Learning)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนร่วมมือกันทำงาน
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
และประสานงานกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียน
ลักษณะของการจัดการเรียนการสอน
1. จัดชั้นเรียนโดยการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆประมาณ
๒-๖ คน โดยจัดคละกันตามความสามารถทางการเรียนมีทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน
2. ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและรับผิดชอบการเรียนรู้ของเพื่อน
ๆภายในกลุ่มของตนเองด้วย
3. สมาชิกทุกคนในกลุ่ม
จะต้องร่วมมือในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ โดยสนับสนุนยอมรับ และไว้วางใจซึ่งกันและกัน
เพื่อให้สมาชิกทุกคนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
รูปแบบกิจกรรมการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือประสานใจ
1. Match Mind (คู่คิด)
2. Pairs-Check (คู่ตรวจสอบ)
3. Tree-Step Interview
4. Think-Pair Share
5.
Team-Word Webbing
6.
Round table
7.
Partners (คู่หู)
8. Jigsaw
จ. การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
(Critical Thinking)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการใช้ความคิด พิจารณาตัดสินเรื่องราวปัญหาข้อสงสัยต่าง
ๆอย่างรอบคอบ และมีเหตุผล
ครูจะเป็นผู้นำเสนอปัญหาและดูแลให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมของผู้เรียน
กิจกรรมการสอนจะเริ่มจากปัญหาที่สอดคล้องกับวุฒิภาวะและประสบการณ์ของผู้เรียน
ซึ่งยั่วยุผู้เรียนให้อยากศึกษา ผู้เรียนจะรู้สึกว่าไม่มีคำตอบหรือคำตอบมีแต่ไม่เพียงพอ
ผู้เรียนต้องมีการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ
และใช้กระบวนการคิดอย่างหลากหลายรวมทั้งวิเคราะห์ไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล และเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การตัดสินเพื่อเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดกับปัญหาที่นำมาใช้ในบทเรียน
ขั้นตอนการสอนมีดังนี้
1. ครูนำเสนอปัญหาซึ่งเป็นคำถามที่เร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิด
ผู้เรียนตอบคำถามของครูโดยให้คำตอบที่หลากหลาย
2. ครูให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดโดยการอภิปรายร่วมกัน
หรือให้ค้นคว้าจากแหล่งความรู้เท่าที่มีอยู่
3. ครูให้ผู้เรียนช่วยกันคัดเลือกคำตอบที่ตรงกับประเด็นปัญหา
4. ครูให้ผู้เรียนสรุปคำตอบที่เด่นชัดที่สุด
2. แบบเน้นสื่อ
เป็นประเภทของการสอนในลักษณะใช้สื่อเป็นหลัก
เช่น การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป การสอนแบบศูนย์การเรียน
การสอนโดยใช้โปรแกรม CAI เป็นต้น
ง. การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลตามแนวการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะนิยมใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพแท้จริงใน
ห้องเรียน (Authentic Assessment) ทั้งนี้เนื่องจากการวัดและประเมินผลตามสภาพที่แท้จริงในห้องเรียน
จะเป็นการวัดและประเมินผลที่บอกถึงระดับความรู้
ความสามารถที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
อันเนื่องมาจากการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจนกระทั่งได้ชิ้นงานในรูปแบบหนึ่งออกมาในตอนสุดท้าย เทคนิคที่นิยมใช้ตามแนว A.A ได้แก่การใช้ Portfolio การใช้แบบทดสอบความสามารถจริง
(Authentic Test) การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม
การสัมภาษณ์เป็นต้น
จ.
บทบาทของครูตามแนวการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
บทบาทของครูตามแนวการสอนนี้
จะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีบทบาทใหม่ ดังนี้
1. เป็นผู้จัดการ
(Manager) เป็นผู้กำหนดบทบาทให้ผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ
ที่เหมาะสมกับความสามารถ ความสนใจของผู้เรียน
2. เป็นผู้ช่วยเหลือและแหล่งความรู้ (Helper and resource) เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการในยามที่ผู้เรียนต้องการ
อันจะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีประสิทธิภาพ
3. เป็นผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนการสอน
ให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านสื่ออุปกรณ์ คำแนะนำ
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำเนินกิจกรรมไปได้อย่างราบรื่น
4. เป็นผู้ติดตามตรวจสอบ คอยตรวจสอบกระบวนการทำงาน
ผลงานของผู้เรียน รวมทั้งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเพื่อนำผลมาปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ฉ. บทบาทของผู้เรียนตามแนวการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1. เป็นผู้ลงมือกระทำ
ผู้เรียนจะต้องดำเนินกิจกรรมต่าง ๆที่ครูจัดเตรียมให้ด้วยตนเอง
เพื่อผลในการเรียนรู้
2. เป็นผู้มีส่วนร่วม
ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน
3. เป็นสมาชิกของกลุ่มผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้แลกเปลี่ยนความรู้
ประสบการณ์ ความคิดเห็น สร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียนอื่น ๆ
ในกลุ่มเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
4. เป็นผู้ประเมิน
ผู้เรียนจะต้องคอยตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยการประเมินผลด้วยตัวเอง และผู้เรียนในกลุ่มเป็นต้น
สรุป
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
หมายถึง เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง
โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะได้รับ
และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ
อันจะนำผู้เรียนไปสูการเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง ซึ่งในการจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง
ๆ
อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นฯสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
อีกทั้งการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางถือเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
เป็นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉงเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายเป็นวิธีการที่ให้อำนาจแก่ผู้เรียน
ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1. จัดตามความสนใจ ความสามารถ
ตั้งแต่การร่วมกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ และการประเมินผล
2. จัดให้ผู้เรียนได้ลงมือทำกิจกรรม ปฏิบัติ
แก้ปัญหาหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากสื่อเพื่อน และครู
3. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะต่างๆ เช่น
ทักษะทางการคิดวิเคราะห์ การสังเกต การทดลองค้นคว้า
การจดบันทึกตลอดจนการสังเคราะห์การสรุปข้อความรู้ต่างๆของตนเอง
4. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
5. จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์
แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกับเพื่อนๆจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ขั้นตอนการสอนมีดังนี้
1. ครูนำเสนอปัญหาซึ่งเป็นคำถามที่เร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิด
ผู้เรียนตอบคำถามของครูโดยให้คำตอบที่หลากหลาย
2. ครูให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดโดยการอภิปรายร่วมกัน
หรือให้ค้นคว้าจากแหล่งความรู้เท่าที่มีอยู่
3. ครูให้ผู้เรียนช่วยกันคัดเลือกคำตอบที่ตรงกับประเด็นปัญหา
4. ครูให้ผู้เรียนสรุปคำตอบที่เด่นชัดที่สุด
ข้อดีของการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น
2. ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถต่างๆ ตามความสามารถของตน
3. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำ
ปฏิบัติหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
4. ผู้เรียนได้เรียนตามความสนใจความสามารถของตนเอง
5. ผู้เรียนได้เชื่อมโยงการเรียนรู้กับสภาพชีวิตประจำวัน
6. ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิด
ความรู้กับเพื่อนๆ
ที่มา:
เรียนเป็นสำคัญ.สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2558.
สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2558.