วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้


                 สุโท เจริญสุข (2551 : 23) ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้มีความสำคัญกับคนเราเป็นอย่างมาก ซึ่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุด จะต้องประกอบจากการคิด และการทำ คือการเรียนรู้ของคนเรา จึงควรสนใจและเข้าใจให้ค่อนข้างลึกซึ้ง เพื่อที่ท่านจะได้เรียนรู้ดีเพื่อตัวของท่านเองในฐานะเป็น ผู้เรียนและนำไปอบรม แนะนำให้คนอื่นได้เรียนรู้ดีอีกด้วย ในฐานะที่ท่านต้องตกเป็นผู้สอนคนอื่น ในบางโอกาส เช่น เป็นครูบาอาจารย์ หรือเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กๆ ก็จะเกิดหนทางชี้แนะลูกหลานหรือศิษย์ให้เรียนดีเรียนถูกต่อไป และเด็กโตที่พอจะภาษาอ่านหนังสือออกแล้ว กระผมคิดว่า วิธีการเรียนรู้อันสำคัญยิ่งของเราก็คือ จงฟัง และจงอ่าน แล้วจงคิด ให้มากๆนี้คือการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจแจ่มแจ้งที่สุดก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริงทำจริง
               ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2548 : 29) ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้มีความสำคัญกับการดำรงชีพของคนเราในปัจจุบัน และต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบเพื่อตัวเราเอง จะอยู่อย่างมีความสุขตามสภาพแวดล้อมของตนและการเรียนรู้ยังเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งของการปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคม ก็คือ การเรียนรู้ไม่เพียงแต่การจัดกิจกรรมในโรงเรียนหรือสถานศึกษา ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาอย่างมีระบบเท่านั้น แต่การเรียนรุ้เกิดขึ้นได้ทุกสภาพทุกขณะ ตั้งแต่มนุษย์ลืมตาดูโลก เราก็เริ่มเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเรา โดยเริ่มจากสิ่งแวดล้อมภายในบ้านในครอบครัวก่อนอื่น  จากนั้นเมื่อเราเจริญเติบโตมีวุฒิภาวะ ก็พร้อมที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ตามความสามารถของตน
             www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt ได้รวบรวมถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า
               1.การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต  
               2.มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย  
               3.ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน   No  one  old  to  learn
               4.การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

สรุป
            จากการที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของการเรียนรู้ สามารถเข้าใจได้ว่า การเรียนรู้ถือเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยเริ่มจากการคิดและทำ เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การเรียนรู้เกิดจากคนนั้นคิดเองทำเองมากๆ นอกจากนี้การเรียนรู้ยังต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่าง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคมให้ได้ ทุกสภาพ และทุกขณะ ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นตัวช่วยในการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น

ที่มา:
           ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์.(2548).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ:ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
           สุโท เจริญสุข.(2551).จิตวิทยาการเรียนการสอนตามแนวพุทธปรัชญาและจิตวิทยา
                           แผนใหม่.กรุงเทพฯ:..อักษรบริการ.
           http://www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt. การเรียนรู้.สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558.
 


วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้

           อัชรา เอิบสุขสิริ (2556:108) ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน
          สุพล ฉุนแสนดี (https://sites.google.com/site/supoldee/thxn-dit) ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้โดยอ้างอิงถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของ ธอร์นไดค์ ไว้ว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด
          บ้านจอมยุทธ (http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html) นักจิตวิทยาหลายท่านได้รวบรวมและให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
          คอนบาค ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
          คิมเบิล ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
          ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า "การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา สารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์"
          พจนานุกรมของเวบสเตอร์ ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า "การเรียนรู้คือกระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"      
          ประดินันท์ อุปรมัย ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า "การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม"

สรุป
           การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม ที่ได้มาจากประสบการณ์ต่างๆของแต่ละบุคคลที่ประสบมา ไม่ว่าจะเป็นการเสริมแรง ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า การตอบสนอง และเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจที่ต้องการจึงทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยเราจะสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรตามประสบการณ์ที่พบมา

ที่มา
 :
        บ้านจอมยุทธ. [online] http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html.จิตวิทยาการเรียนรู้ หมวด                            ความหมายของการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2558.
        สุพล ฉุนแสนดี.[online] https://sites.google.com/site/supoldee/thxn-dit.ทฤษฎีการเรียนรู้ของ
                      ธอร์นไดค์
. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2558.
       อัชรา เอิบสุขสิริ.(2556).จิตวิทยาสำหรับครู.กรุงเทพ:บริษัท วี.พริ้น (1991) จำกัด.