วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้

           อัชรา เอิบสุขสิริ (2556:108) ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน
          สุพล ฉุนแสนดี (https://sites.google.com/site/supoldee/thxn-dit) ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้โดยอ้างอิงถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของ ธอร์นไดค์ ไว้ว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด
          บ้านจอมยุทธ (http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html) นักจิตวิทยาหลายท่านได้รวบรวมและให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
          คอนบาค ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
          คิมเบิล ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
          ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า "การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา สารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์"
          พจนานุกรมของเวบสเตอร์ ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า "การเรียนรู้คือกระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"      
          ประดินันท์ อุปรมัย ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า "การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม"

สรุป
           การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม ที่ได้มาจากประสบการณ์ต่างๆของแต่ละบุคคลที่ประสบมา ไม่ว่าจะเป็นการเสริมแรง ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า การตอบสนอง และเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจที่ต้องการจึงทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยเราจะสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรตามประสบการณ์ที่พบมา

ที่มา
 :
        บ้านจอมยุทธ. [online] http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html.จิตวิทยาการเรียนรู้ หมวด                            ความหมายของการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2558.
        สุพล ฉุนแสนดี.[online] https://sites.google.com/site/supoldee/thxn-dit.ทฤษฎีการเรียนรู้ของ
                      ธอร์นไดค์
. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2558.
       อัชรา เอิบสุขสิริ.(2556).จิตวิทยาสำหรับครู.กรุงเทพ:บริษัท วี.พริ้น (1991) จำกัด.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น